เทคนิคการเทรดแบบที่2
ในเทคนิคนี้จะมีความละเอียดมากกว่าเทคนิคที่1 โดยจะใช้เครื่องมือ Demand & Supply เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์ หาสถานะของราคาปัจจุบัน เพื่อคาดการณ์ทิศทางของราคาในอนาคตระยะสั้น การทำเช่นนี้จะทำให้เราได้เห็นชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่าสถานะการณ์ตอนนี้เราควรจะเน้น Buy หรือ Sell หรือ Wait(รอ) โดยไม่ต้องคาดเดามั่วๆ โอกาสที่จะถูกทางจะมีมากกว่าผิดทาง
สำหรับท่านที่อ่านหนังสือเกิน 8 บรรทัดเท่านั้น
ข้อควรปฎิบัติในการเทรด
ในการเทรดไม่ว่าจะเป็นการเทรดสั้น หรือ เทรดยาว เราจะใช้หลักการ 4 องค์ประกอบดังนี้
เน้นเทรดตามเทรดหลักเท่านั้น
ย่อกราฟให้เล็กเพื่อดูภาพรวมของไทม์เฟรมนั้นๆก่อน
เข้าออเดอร์ในจังหวะย่อเท่านั้น โดยขยายกราฟให้ใหญ่ เพื่อให้เห็นไส้เทียนชัดเจน
ใช้การจำกัดความเสี่ยงโดยมี SL และ TP ที่เหมาะสมทุกครั้งที่เปิดออเดอร์
ข้อควรปฎิบัติในการเทรด (สำคัญมาก)
ไม่ว่าจะเทรดด้วยเทคนิคใดๆก็ตาม หากใช้หลักการนี้ในการเข้าออเดอร์ จะช่วยลดการโดนลากติดลบหนัก ลดการโดนชน Stop loss และ ยังได้จุด Stop loss ที่ไม่กว้างมาก
ขั้นตอนที่ 1
เริ่มจากการมองภาพรวมของตลาดที่ D1 ก่อน ที่ต้องยึดที่ D1 เนื่องจากเป็นการมองในระยะกลางๆ ที่มันสะท้อนให้เห็นทิศทางของราคาได้ทั้งการเทรดสั้น และ เทรดยาว ส่วนการเทรดยาวจริงแบบถือยาว ก็ค่อยขยับไปวิเคราะห์ภาพรวมในไทม์เฟรมที่ใหญ่กว่า D1 เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่ใช้ในการเทรด
ในภาพล่างนี้จะเห็นได้ชัดเจนว่า ราคาได้วิ่งระหว่าง Demand zone กับ Supply zone โดยมีรูปแบบการวิ่งแบบ Sideway Up จะเห็นแรงซื้อและขายที่กระชากในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน แต่แรงซื้อมีความชัดเจนกว่าจึงทำให้เกิดการยกตัวขึ้น แต่เป็นการยกตัวในกรอบของ Demand zone กับ Supply zone
หากมองในภาพรวมของสถานการณ์ราคาจะเห็นได้ชัดเจนว่าราคาสูงสุดที่ใกล้ปัจจุบันยังต่ำกว่าจุดราคาสูงสุดที่เคยทำไว้ล่าสุดอยู่ และ ราคาปัจจุบันได้ทิ้งตัวร่วงลงมาแรงด้วยโมเมนตัมที่แรงต่อเนื่องสองแท่ง ซึ่งพอจะคาดการณ์ได้ว่า แท่งปัจจุบันมีโอกาสที่จะเกิดการพักตัวของราคาเป็นไปได้สูง ราคาอาจจะค่อยๆต่อตัวขึ้นเป็นขาขึ้น(สีเขียว)แท่งเล็กๆขึ้นไปก่อน หากแรงซื้อไม่มากพอ ก็จะเกิดการทิ้งตัวลงแรงๆอีกครั้ง เป้าหมายก็คงเป็น Demand zone ตามภาพ เป็นการจบรอบของขาลงหรือแรงขาย และ เริ่มรอบของขาขึ้นหรือแรงซื้อต่อไป
ในเมื่อเรามองเห็นทิศทางของราคาปัจจุบันว่าราคาได้ลงมาใกล้ Demand zone หรือ แนวรับหลัก โอกาสที่จะกลับตัวขึ้นมีโอกาสสูง แต่หากจะเทรดในฝั่ง Sell ก็ต้องรอจังหวะให้ดี และ เก็บกำไรสั้นๆ เพราะตลาดมันไม่ได้ขึ้นไปดื้อๆ หรือ ลงแบบดื้อๆ มันจะมีแรงสวนทางเล็กๆก่อน ก่อนที่จะวิ่งไปตามเทรนด์ย่อยปัจจุบัน (ในภาพก็คือเทรนด์ขาลง ดูจาก สามแท่งล่าสุด)
ในการเตรียมตัวเข้าเทรดโอกาสที่จะเหมาะสมในการเข้าเทรดตอนนี้ก็คือการเทรดในฝั่ง Buy แต่ต้องรอดูความชัดเจนของราคาก่อน ว่าราคาจะลงมาทดสอบที่ Demand zone แล้วจะทะลุ Demand zone ลงไปได้หรือไม่ และ จะสามารถทำ Low ที่ต่ำกว่า Low ล่าสุด (กรอบสีเหลี่ยมสีขาวด้านล่าง) ได้หรือไม่ ถ้ายังทำราคา Low ที่ต่ำกว่า Low ล่าสุดไม่ได้ก็มีโอกาสที่จะกลับตัวขึ้นมีโอกาสสูง
คลิ๊กที่รูปภาพเพื่อขยาย
ขั้นตอนที่ 2
ในขั้นตอนที่ 1 เราได้เห็นภาพราคาปัจจุบันชัดเจนแล้วว่า ราคาลงมาใกล้แนวรับ หรือ Demand zone มากแล้ว ในระยะสั้นโอกาสของการ Buy จะมีมากกว่า Sell แต่ก็จะมั่นใจมากเกินไป เพราะตลาด Forex มันมีความผันผวน เพราะมันเป็นตลาดที่ผูกกับเศรษฐกิจของประเทศยักษ์ใหญ่ทั้งหลายโดยตรง อะไรๆก็มีโอกาสเกิดขึ้นที่เหนือความคาดหมายได้ตลอด ต้องเผื่อสองทางไว้เสมอ
ในภาพล่างเป็นการมองที่ H4 เพื่อซูมเข้าไปดูรายละเอียดได้ดีกว่า D1 ในภาพล่างเป็นการคาดการณ์ทิศทางของราคา ซึ่งโดยส่วนมากมักจะเป็นไปตามภาพ ทำให้เราสามารถหาจุดเข้า Buy หรือ Sell ได้ง่ายขึ้น สำหรับการเข้าเทรด เราไม่จำเป็นต้องได้จุดที่ราคาดีที่สุดเพราะมันอาจเจอราคากระชากขึ้นลงแรงๆ ทำให้เสีย SL ไปได้ง่ายๆ เราควรรอราคา Breakout จากแนวรับ(เส้นสีแดง) แนวต้าน(เส้นสีเขียว) ให้ชัดเจนก่อน
ปกติแล้วเมื่อราคาทะลุ หรือ Breakout ออกจากแนวรับ หรือ แนวต้าน ได้แล้วมันมักจะย่อตัวสวนทางก่อน เช่นราคาทะลุจุด Buy(สีเขียว) ขึ้นไปได้ มันมีโอกาสที่จะย่อตัวลงมาหาจุด Buy ที่เดิมก่อนจึงดีดตัวกลับขึ้นไปยาวๆตรงที่ราคาย่อตัวลงมานั้นแหละคือที่ที่จะเข้า Buy
ในกรณี Sell ก็เช่นกันเมื่อราคาสามารถทะลุแนวรับ(สีแดง) ลงมาได้ ราคามักจะย้อนกลับขึ้นไปหาจุด Sell ก่อน จากนั้นคือทิ้งตัวลงยาวๆต่อไป ตรงจุดที่ราคาย้อนขึ้นไปหาจุด Sell นั้นแหละคือจุดที่จะเข้าเทรดฝั่ง Sell
คลิ๊กที่รูปภาพเพื่อขยาย
ขั้นตอนที่ 3
ในขั้นตอนที่ 3 เราจะซูมเข้าไปดูรายละเอียดในไทม์เฟรม H1 เพื่อดูรายละเอียดในการวางแผนในการเข้าออเดอร์ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ในกรอบสีเหลี่ยมสีขาวเราจะเห็นการพักตัวของราคา จะเห็นได้ว่าแท่งราคามีขนาดเล็กค่อยๆต่อตัวกันในทิศทางขาขึ้น โดยแท่งสีเขียวล่าสุดได้ขึ้นไปยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย EMA12 ได้ สิ่งที่จะยืนยันแรงขาขึ้นที่ชัวร์ๆ แท่งราคาต้องขึ้นไปยืนเหนือ EMA 50 ให้ได้เสียก่อน เมื่อราคาขึ้นไปยืนเหนือ EMA50 ได้แล้วมันมักจะย่อตัวลงมาหาเส้นค่าเฉลี่ย EMA50 อีกครั้งก่อนที่จะดีดตัวขึ้นต่อ
แต่อย่างไรก็ดีโมเมนตัมขาขึ้นต้องแรงพอที่จะทะลุเส้นค่าเฉลี่ย EMA200 ให้ได้ด้วย เพราะนั้นคือการเปลี่ยนเทรนด์ที่ชัดเจนจากฝั่งขาลงไปเป็นขาขึ้น โดยใช้ EMA200 เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนเทรนด์ แต่หากราคายังคงเรียงตัวตามภาพคือ EMA200 -> EMA50 -> EMA26 -> EMA12 แสดงถึงแรงขาลงมีชัดเจน โอกาสลงต่อมีสูงกว่าขึ้น
คลิ๊กที่รูปภาพเพื่อขยาย
ขั้นตอนที่ 4
เพื่อยืนยันทิศทางที่ชัดเจนเราสามารถใช้เครื่องมือของระบบเทรด Super High Profit Tools ช่วยยืนยันโดยใช้ Zigzag เพื่อดูว่าเทรนด์ปัจจุบันเกิดขึ้นมานานแล้วหรือยัง ซึ่งตามภาพลาสงจะเห็นว่าจุดสีแดงวงกลมของ Zigzag ล่าสุด(เส้นไข่ปลาล่าสุด) เกิดขึ้นนานแล้ว ซึ่งคาดได้ว่ามันคือปลายเทรนด์ของขาลงแล้ว เมื่อใช้สัญญาณ Reversal ช่วยก็จะเห็นสัญญาลักษณ์) รูปพระอาทิตย์สีน้ำเงินปรากฎที่ด้านล่างบริเวณ Demand zone (แถบสีเขียว) แสดงถึงเทรนด์มีโอกาสปรับตัวเป็นขาขึ้นในเร็วๆนี้
คลิ๊กที่รูปภาพเพื่อขยาย
ขั้นตอนที่ 5
ขั้นตอนสุดท้ายก่อนการเปิดเข้าออเดอร์ เพื่อความชัวร์ในขั้นตอนสุดท้าย เราควรใช้เทรนด์ในการยืนยันการเปิดเข้าออเดอร์ โดยใช้เครื่องมือ Trends Direction และ Market Trends Direction ช่วยยืนยันโดยสังเกตุจากสีของสัญญาณ สีแดงหมายถึงขาลง สีเขียวหมายถึงขาขึ้น ดูตามภาพล่างนี้ เป็นการเทรดในเทรดขาลง เราจะเน้นการดูสีแดงของเครื่องมือ เครื่องมือ Trends Direction และ Market Trends Direction เป็นตัวช่วยยืนยันขาลง
คลิ๊กที่รูปภาพเพื่อขยาย
ความคิดเห็นล่าสุด