เทคนิคการเทรดแบบที่3
เทคนิคการเทรดในครั้งนี้จะเป็นอีกเทคนิคที่ได้รับความนิยมในการเทรดจากเทรดเดอร์ทั่วโลก คือการใช้ Demand & Supply และ ระดับ Pivots และ แนวรับ-แนวต้าน ร่วมกับการสังเกตุสัญญาณ Price Action รวมถึงการใช้งานเส้นเทรนด์ไลน์
สำหรับท่านที่อ่านหนังสือเกิน 8 บรรทัดเท่านั้น
ข้อควรปฎิบัติในการเทรด
ในการเทรดไม่ว่าจะเป็นการเทรดสั้น หรือ เทรดยาว เราจะใช้หลักการ 4 องค์ประกอบดังนี้
เน้นเทรดตามเทรดหลักเท่านั้น
ย่อกราฟให้เล็กเพื่อดูภาพรวมของไทม์เฟรมนั้นๆก่อน
เข้าออเดอร์ในจังหวะย่อเท่านั้น โดยขยายกราฟให้ใหญ่ เพื่อให้เห็นไส้เทียนชัดเจน
ใช้การจำกัดความเสี่ยงโดยมี SL และ TP ที่เหมาะสมทุกครั้งที่เปิดออเดอร์
ข้อควรปฎิบัติในการเทรด (สำคัญมาก)
ไม่ว่าจะเทรดด้วยเทคนิคใดๆก็ตาม หากใช้หลักการนี้ในการเข้าออเดอร์ จะช่วยลดการโดนลากติดลบหนัก ลดการโดนชน Stop loss และ ยังได้จุด Stop loss ที่ไม่กว้างมาก
ขั้นตอนที่ 1
ระบบเทรด Super High Profit Tools มีเครื่องมือพิเศษตัวหนึ่งที่สามารถทำหน้าที่เป็นทั้ง เส้น Pivots Line + เส้นแนวรับ-แนวต้าน + โมเมนตัม + โวลลุ่ม ทั้งหมดอยู่ในเครื่องมือตัวเดียวคือปุ่มสีน้ำเงิน Support Resistance ในเทคนิคนี้เราจะเห็นจุดที่เป็นแนวรับแนวต้านของราคาปัจจุบันได้ชัดเจน อีกทั้งยังเห็นโซนอิ่มตัวของการขาย Oversold ที่เป็นตัวบอกว่าแรงขายนั้นใกล้จะหมดแรงแล้ว (ส่วนใหญ่จะเป็นโซนใกล้หมดแรง แต่ก็มีบางครั้งที่ราคายังไปต่อได้อีกไกล แต่นั้นไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก)
เครื่องมือ Pivots line คือะไร?
เครื่องมือ Pivots line ก็คือเครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็นแนวรับ-แนวต้าน การใช้งานเหมือนเส้นแนวรับแนวต้านทุกอย่าง สิ่งที่แตกต่างกันคือวิธีการคำนวนตำแหน่งของเส้นเท่านั้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
เส้นแนวรับ-แนวต้าน ทั่วไปเป็นเส้นที่ใช้หลักการคือมองย้อนกลับไปยังอดีตยาวๆเช่นเป็นปี เพื่อหาตำแหน่งที่ราคามักจะหยุดทดสอบบ่อยๆครั้ง ยิ่งราคาไปทดสอบถี่มากๆยิ่งมีนัยยะที่แข็งแรงมาก เป็นการมองภาพรวมของระดับราคาในช่วงระยะเวลายาวเป็นปีในการแสดงแนวรับ-แนวต้าน เป็นการใช้คาดการณ์ว่าระดับราคานี้มีความแข็งแกร่งเพียงใดเมื่อดูจากสถิติย้อนหลังระยะยาว
เส้น Pivots line แม้ว่าหลักการใช้งานจะมีวิธีเหมือนเส้นแนงรับ-แนวต้านก็จริง แต่วิธีคิดนัยยะแตกต่างกัน โดยระบบ Pivots จะเน้นเอาข้อมูลย้อนหลังระยะใกล้แค่เมื่อวานที่ผ่านมาเทียบกับข้อมูลของวันนี้ ดังนั้นการใช้งานจึงเป็นการโฟกัสที่พฤติกรรมราคาในระยะใกล้ โดยเน้นวันปัจจุบันเป็นหัวใจหลัก
เส้นสีเหลือง Major Pivot เป็นตัวแบ่งแรงซื้อขายของวันนี้ หากแท่งราคาอยู่เหนือเส้นสีเหลืองก็แสดงว่าแรงวันนี้เป็นแรงฝั่งขาขึ้น
เส้นสีเหลือง Major Pivot เป็นตัวแบ่งแรงซื้อขายของวันนี้ หากแท่งราคาอยู่ต่ำกว่าเส้นสีเหลืองก็แสดงว่าแรงวันนี้เป็นแรงฝั่งขาลง
ในภาพล่างนี้ดูที่แท่งราคาปัจจุบัน จะปรากฎเป็นแท่งการขายที่อยู่ระหว่าง เส้น Pivots ที่เป็นแนวรับ และ แนวต้าน โดยแรงของตลาดวันนี้แท่งราคาอยู่ต่ำกว่าเส้น Major Pivot สีเหลืองแสดงว่าแรงวันนี้ยังเป็นแรงฝั่งขาย
คลิ๊กที่รูปภาพเพื่อขยาย
ขั้นตอนที่ 2
เมื่อเราซูมเข้าไปใน H4 เพื่อดูรายละเอียดในรอบราคาของ H4 จะพบว่าราคาที่ H4 ขณะนี้ลงมาทดสอบที่ Oversold zone ก็คือโซนที่บอกว่ามีแรงขายมากพอสมควรแล้ว ราคามีโอกาสกลับตัวในอีกไม่ช้านี้ ทำให้เราได้มีโอกาสเห็นถึงระดับที่มีนัยยะสำคัญทางราคาที่ชัดเจน หากราคาหลุด Oversold ลงไปก็ต้องไปทดสอบที่ระดับ Reversal zone ซึ่งเป็นโซนกลับตัวของราคาในชั้นแรก การมีระดับให้เห็น ณ.ตำแหน่งที่มีนัยยะจึงช่วยให้เราได้คาดการณ์ทิศทางของราคาได้แม่นยำขึ้น
คลิ๊กที่รูปภาพเพื่อขยาย
ขั้นตอนที่ 2
ขั้นตอนที่3 นี้เราจะใช้การสังเกตุสัญญาณ Price Action ช่วยในการหาจุดเข้าออเดอร์ ซึ่งโดยปกติส่วนใหญ่จะมีการใช้งาน Price Action เพียงแค่ 2 ตัวเท่านั้น ทำให้ง่ายต่อการจดจำและง่ายต่อการนำไปใช้งาน เพราะไม่ต้องไปจดจำรูปแบบอื่นๆในเบื้องต้นให้สับสน เอาแค่สองรูปแบบนี้ก็ช่วยงานเทรดได้มากแล้ว ส่วนรายละเอียดของการใช้งาน Price Action ในรูปแบบต่างๆ ท่านสามารถศึกษาได้จากอีบุ๊คที่แถมให้ตอนสั่งซื้อระบบเทรด
Pinbar เป็น Price Action แบบแท่งเดี่ยว ก็จะมีรูปร่างเนื้อเทียนผอมเล็กมีไส้ยาวมากกว่า 5 เท่าของเนื้อเทียน
Engulfing เป็น Price Action แบบมากกว่าหนึ่งแท่ง โดยแท่งสองแท่งจะมีแท่งหนึ่งที่กลืนกินแท่งติดกัน
หัวใจสำคัญของการใช้งานสัญญาณ Price Action ก็คือตำแหน่งที่เกิด Price Action โดยปกติสัญญาณ Price Action จะเกิดขึ้นได้ในหลากหลายตำแหน่ง แต่เราจะดูแค่ตำแหน่งที่มีนัยยะสำคัญทางราคา เช่น Demand Supply หรือ แนวรับ-แนวต้าน หรือ บริเวณเส้นเทรนด์ไลน์ หรือบริเวณ Overbought หรือ Oversold ส่วนตำแหน่งอื่นๆนั้นให้ถือว่าเป็นสัญญาณ Price Action หลอกให้มองข้ามไปเลย
คลิ๊กที่รูปภาพเพื่อขยาย
หากแท่งราคาอยู่ต่ำกว่าเส้น เราจะเรียกเส้นนี้ว่า เส้นแนวต้าน
หากแท่งราคาอยู่เหนือกว่าเส้น เราจะเรียกเส้นนี้ว่า เส้นแนวรับ
อ่านรายละเอียดได้จากอีบุ๊คที่แถมให้ตอนสั่งซื้อระบบเทรด
คลิ๊กที่รูปภาพเพื่อขยาย
เทคนิคการตีเส้นเทรนด์ไลน์
แม้ว่าระบบเทรด Super High Profit Tools จะมีเครื่องมือตีเส้นเทรนด์ไลน์ให้โดยอัตโนมัติถึง 2 แบบ แต่เราควรทำความเข้าใจวิธีตีเส้นเทรนด์ไลน์ในแบบพื้นฐานให้เข้าใจให้ดีก่อน มันจะทำให้เราสามารถวิเคราะห์การใช้งานเส้นเทรนด์ไลน์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การตีเส้นเทรนด์ไลน์เราจะลากจากจุดสองจุด ในภาพจะลากจากจุดที่ 1 ไปยังจุดที่ 2 หรือ จากจุด A ไปยังจุด B แล้วลากยาวๆไปทางขวามือ(ส่วนที่เป็นอนาคต) เราจะเห้นได้ว่า แค่ลากระหว่าง สองจุดที่เกิดขึ้นในเวลานั้น และ ในเวลาต่อมาจะเห็นได้ว่าแท่งราคาได้วิ่งมาทดสอบ ณ.เส้นเทรนด์ไลน์ที่เราลากไว้ล่วงหน้าก็คือจุดที่ 3 ที่เกิดขึ้นตามมา
เทคนิคการเข้าออเดอร์ด้วยเส้นเทรนด์ไลน์
เมื่อเกิดตำแหน่งการทดสอบของราคาในจุดที่ 3 ของเส้นเทรนด์ไลน์ เราก็จะได้จุดที่เป็นราคาต่ำสุดที่ล่าสุดคือจุด A เราจะรอราคาลงมาทำจุดต่ำสุดอีกครั้งนั้นก็คือจุด B ตอนนี้เราจะสามารถลากเส้นเทรดน์ไลน์ แนวรับได้แล้ว ส่วนเส้นเทรนด์ไลน์ด้านบนก็คือเส้นเทรนด์ไลน์แนวต้าน
จุดที่ต้องโฟกัสก็คือ ตรงหมายเลข 3 มันจะเกิด Supply zone ซึ่งถือว่าเป็นแนวต้านหลัก และเป็นจุดที่สามารถวาง SL ได้ และตรงเส้นเทรนด์ไลน์แนวรับของจุด A ไป B แล้วลากยาวไปทางขวามือ เส้นนี้เราจะใช้เป็นตัวยืนยันการเกิด Breakout ของราคา
จากภาพล่างนี้จะเห็นว่าราคาได้ขึ้นมาทดสอบเป็นครั้งที่ 4 (หลังจากเกิดจุด B) ตรงนี้จะเกิดเป็น Supply zone โดยแสดงไส้ยาวเป็นการบอกถึงแรงปฎิเสธ หรือ แรงต่อต้าน (Rejection) ที่ราคาไม่สามารถทะลุขึ้นไปยืนเหนือเส้นเทรนด์ไลน์แนวต้านได้นั้นแสดงถึงราคาพร้อมจะลงต่อ
ในการใช้งานเส้นเทรนด์ไลน์ให้โฟกัสจากจุดที่ 3 ไป 4 เป็นหลัก
คลิ๊กที่รูปภาพเพื่อขยาย
คลิ๊กที่รูปภาพเพื่อขยาย
คลิ๊กที่รูปภาพเพื่อขยาย
https://topindy.com/forum/step3
ความคิดเห็นล่าสุด